วันอาทิตย์ที่ 17 พฤษภาคม พ.ศ. 2558

เจียวกู่หลาน(Jiaogulan 250)

เจียวกู่หลาน มีอีกชื่อว่า “ปัญจขันธ์” ได้รับคัดเลือกเป็นสมุนไพรแห่งปี 2548 ร่วมกับฟ้าทะลายโจร จากกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข เจียวกู่หลานมีชื่อทางวิทยาศาสตร์ว่า Gynostemma pentaphyllum จัดเป็นพืชสมุนไพรชนิดเถา 
มีถิ่นกำเนิดอยู่ในเอเชียตะวันออก และเอเซียตะวันออกเฉียงใต้ พบตั้งแต่จีน ญี่ปุ่น เกาหลี อินเดีย เนปาล ศรีลังกา พม่า ไทย ลาว กัมพูชา เวียดนาม มาเลเซีย อินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ ฯลฯ ในประเทศจีนใช้แก้ไอ รักษาอาการอักเสบ ขับเสมหะรักษาอาการหลอดลมเรื้อรัง และตับอักเสบจากการติดเชื้อ ในการแพทย์พื้นบ้านของญี่ปุ่นใช้เป็นยาขับปัสสาวะ ลดไข้ แก้อักเสบ และบำรุงกำลัง สมุนไพรชนิดนี้มีประวัติการใช้มายาวนานในประเทศจีนและญี่ปุ่น ทั้งเป็นยาและเป็นอาหารเสริมสุขภาพ 
การศึกษาวิจัยเกี่ยวกับเจียวกู่หลาน หรือปัญจขันธ์ หลายๆ ด้าน ซึ่งสรุปมาพอสังเขปได้ดังนี้
  • การวิจัยในสัตว์ทดลอง 
- ลดไขมันในเลือดในหนูขาว
- ลดน้ำตาลในเลือดในหนูขาว
- ลดการเกิดเส้นเลือดหัวใจหดตัวในหนูถีบจักร
- ลดการขาดเลือดเลี้ยงสมองในกระต่าย ปกป้องตับจากสารพิษ acetaminophen ในหนูขาว
- ลดการอักเสบ ในหนูขาวที่เหนี่ยวนำให้อุ้งเท้าอักเสบ
- ฤทธิ์ขยายหลอดลม ในหนูตะเภา
- ยับยั้งและทำลายมะเร็งหลายชนิด ได้แก่ มะเร็งกระพุ้งแก้มของหนูแฮมสเตอร์ มะเร็งตับของหนูถีบจักร มะเร็งหลอดอาหารของหนูขาว และ มะเร็งช่องท้องของหนูถีบจักร
- เพิ่มภูมิต้านทานของร่างกายในหนูที่เป็นมะเร็ง
  • การวิจัยในคน
ฤทธิ์ต้านมะเร็ง
มีงานวิจัยฤทธิ์ต้านมะเร็งของเจียวกู่หลานกับเซลล์มะเร็งของมนุษย์ ที่ได้รับการเพาะเลี้ยงไว้มากมายหลายชนิด ดังนี้
- มะเร็งตับ สาร Gypenosides ในเจียวกู่หลานสามารถยับยั้งการแบ่งตัวและทำลายเซลล์มะเร็งตับ Hep3B HA22T และ Huh-7 cell lines ของคนได้จริงด้วยกลไกที่ชัดเจน 
- มะเร็งปอด สาร Gypenosides สามารถทำลายเซลล์มะเร็งปอด Human lung cancer A-549 ของคนได้จริง ด้วยกลไกรบกวนการทำงานของโปรตีน Caspases-3 and-9 
- มะเร็งลำไส้ใหญ่ สาร Gypenosides ในเจียวกู่หลาน สามารถทำลายเซลล์มะเร็งลำไส้ใหญ่ของมนุษย์ Human colon cancer colo 205 cells ด้วยการรบกวนโปรตีน และเหนี่ยวนำให้เกิดการทำลายของเซลล์ (Apoptosis) ได้จริง 
- มะเร็งลิ้น สาร Gypenosides ในเจียวกู่หลาน สามารถทำลายเซลล์มะเร็งลิ้น Human oral cancer SAS cells ของคนได้จริงด้วยกลไกของการ ยับยั้งการแสดงของ DNA repair genes และยังสามารถยับยั้งการลุกลามแพร่กระจายของมะเร็งลิ้นอีกชนิดคือ Human tongue cancer SCC4 ของคนได้จริงด้วยการยับยั้งการแบ่งตัวและทำลายเซลล์มะเร็ง (Apoptosis) ด้วยการรบกวนการทำงานของโปรตีน 
- อาจจะช่วยทำลายมะเร็งปากมดลูก สาระสำคัญ Gypenosides ในเจียวกู่หลาน อาจจะช่วยทำลายเซลล์มะเร็งปากมดลูก โดยการลดกลไกการควบคุมยีนของมะเร็ง ฤทธิ์เพิ่ม
  • ฤทธิ์เพิ่มภูมิต้านทานในร่างกาย
มีงานวิจัยในผู้ป่วยมะเร็ง 19 คน โดยให้รับประทานส่วนสกัดซาโปนินจากเจียวกู่หลานในขนาด Gypenoside 240 มิลลิกรัมต่อวัน เป็นเวลานาน 1 เดือน โดยเลือกในช่วงเวลาที่ผู้ป่วยไม่ได้รับการรักษาด้วยเคมีบำบัด พบว่าผู้ป่วย 10 คน ดีขึ้นอย่างชัดเจนผู้ป่วย 7 คนอาการดีขึ้น ในภาพรวมของการทดลองได้ผลดี 89.5% และการเพิ่มจำนวนของเซลล์เม็ดเลือดขาวเพิ่มขึ้นในผู้ป่วย 17 คน แต่อีก 2 คน จำนวนเม็ดเลือดขาวลดลงระดับอิมมูโนกลอบูลินในเลือดอยู่ในระดับปกติ และระดับ lgC ในเลือดลดลง และไม่มีผลข้างเคียงใดๆ 
  • ลดระดับน้ำตาลในผู้ป่วยเบาหวาน
มีงานวิจัยในผู้ป่วยเบาหวาน Type 2 (ซึ่งเป็นโรคเบาหวาน ชนิดที่พบบ่อยที่สุด) โดยดื่มชาเจียวกู่หลาน พบว่าการบริโภคชาในปริมาณ 6 กรัมต่อวัน เป็นเวลา 12 สัปดาห์ สามารถลดระดับน้ำตาลในเลือดได้เล็กน้อย แต่ก็มีอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติโดยไม่มีอาการน้ำตาลต่ำหรือผลข้างเคียงอื่นใด 
  • มีประโยชน์ในผู้ที่มีไขมันเกาะตับ
งานวิจัยการให้สารสกัดเจียวกู่หลานในปริมาณ 80 ซีซีต่อวัน ในผู้ป่วยที่ไม่ได้ดื่มแอลกอฮอล์ แต่มีภาวะไขมันเกาะตับ โดยแบ่งเป็นสองกลุ่ม คือ กลุ่มควบคุมที่ไม่ได้รับสารสกัดเจียวกู่หลาน และกลุ่มที่ได้รับสารสกัดเป็นเวลาสี่เดือน กลุ่มที่ได้รับสารสกัดเจียวกู่หลานมีค่าระดับของความอ้วน (BMI) เอนไซม์ตับ (SGOT, SGPT) และอินซูลิน ลดลงไปในแนวทางที่ดีกว่ากลุ่มที่ไม่ได้รับสารสกัด ทั้งสองกลุ่มมีค่าไขมันเกาะตับลดลง ถือได้ว่ามีประโยชน์ในผู้ป่วยกลุ่มนี้ 
  • การศึกษาองค์ประกอบทางเคมี
ข้อมูลการวิจัยของวิจัยชาวจีนและญี่ปุ่นพบว่า เจียวกู่หลานมีสาระสำคัญอยู่หลายชนิดที่พบมากเรียกกันทั่วไปว่า Gypenosides เป็นสารจำพวก Saponin ซึ่งมีอยู่ไม่น้อยกว่า 80 ชนิด Gypenosides อีก 11 ชนิด ซึ่งมีสูตรโครงสร้างคล้ายคลึงกับ Ginsenosides ที่พบในโสม
ซาโปนิน ที่พบในเจียวกู่หลานมีจำนวน 82 ชนิด แต่ซาโปนินที่พบในโสมมีเพียง 28 ชนิด ในจำนวนนี้มี 4 ชนิดที่เหมือนกัน ได้แก่ Gypenosides Rb1, Ginsenosides Rb3, Ginsenoside Rd และ Ginsenoside F3 จะเห็นได้ว่า เจียวกู่หลานกับโสมมีสาระสำคัญที่คล้ายกันอยู่หลายตัว 
  • การศึกษาความเป็นพิษ
สารสกัดน้ำของเจียวกู่หลานเมื่อนำมาทดสอบความเป็นพิษเรื้อรังในหนูขาว โดยแบ่งหนูขาวออกเป็น 5 กลุ่ม และให้รับประทานสารสกัดของเจียวกู่หลานใน ขนาด 6, 30, 150 และ 750 มก./กก./วัน นาน 6 เดือนและกลุ่มควบคุมได้รับสารสกัดขนาด 10 มล./กก. พบว่าในทุกกลุ่มการทดลองไม่พบพิษหรือผลข้างเคียงใดๆ เมื่อได้รับสารสกัดเจียวกู่หลาน (ค่าชีวเคมีในเลือดปกติ ลักษณะทางพยาธิสภาพอวัยวะภายในปกติ) นอกจากนี้ จากการศึกษาความปลอดภัยของสารสกัดเจียวกู่หลานที่ศึกษาในอาสาสมัคร 30 ราย โดยแบ่งอาสาสมัครออกเป็น 2 กลุ่ม กลุ่มที่ 1 ให้รับประทานสารสกัดเจียวกู่หลานแคปซูล ครั้งละ 1 แคปซูล ประกอบด้วยสาร Gypenoside 40 มก./แคปซูล หลังอาหาร วันละ 2 ครั้ง (เช้า-เย็น) ติดต่อกันนาน 2 เดือน กลุ่มที่ 2 รับประทานสารสกัดเจียวกู่หลานแคปซูลครั้งละ 2 แคปซูล หลังอาหาร วันละ 2 ครั้ง (เช้า-เย็น) นาน 2 เดือน พบว่าจากการศึกษาไม่พบอาการ ผิดปกติใดๆ ในอาสาสมัคร 
  • ข้อห้ามของเจียวกู่หลาน
- ไม่ควรรับประทานในเด็กและสตรีมีครรภ์
- ไม่ควรรับประทานในผู้ที่รับประทานยาต้านเกล็ดเลือก ยาละลายลิ่มเลือดยาต้านการแข็งตัวของเลือด
ราคากระปุกละ 355 บาท (60 แคปซูล)


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น