การใช้ประโยชน์ทางยา พบว่า เกือบจะทุกๆ ส่วนของต้นมะรุมมีการนำไปใช้ทางยาในแถบเอเชียใต้ ส่วนที่ใช้คือ ราก เปลือกต้น กัม (Gum) ใบ ผล (ฝัก) ดอก เมล็ด และน้ำมันจากเมล็ด ในตำรายาพื้นบ้านใช้ใบมะรุมพอกแผลช่วยห้ามเลือด ทำให้นอนหลับ เป็นยาระบาย ขับปัสสาวะ และช่วยแก้ไข้ ใช้ส่วนดอกและผลเป็นยาบำรุง ขับปัสสาวะ และแก้ไข้ ใช้ส่วนเมล็ดบดพอกแก้ปวดข้อตามข้อ และแก้ไข้ มีรายงานกล่าวถึงการนำพืชนี้มาใช้เป็นยาครอบจักรวาล (Panacea)
ในภาพรวมของข้อมูลทางวิทยาศาสตร์ ซึ่งส่วนใหญ่เป็นการวิจัยในระดับเซลล์และสัตว์ทดลองพบว่า มะรุมมีฤทธิ์ที่น่าสนใจมากมาย เช่น ฤทธิ์ลดความดันโลหิต ต้านการเกิดเนื้องอก ต้านมะเร็ง ลดระดับโคเลสเตอรอล ต้านการเกิดแผลในกระเพาะอาหาร ป้องกันตับอักเสบ ต้านออกซิเดชัน ต้านเชื้อแบคทีเรีย ลดระดับน้ำตาล และฤทธิ์ต้านการอักเสบ
สำหรับงานวิจัยที่น่าสนใจในสัตว์ทดลองมีโดยย่อดังนี้
- ฤทธิ์ลดความดันโลหิต
สารสกัดน้ำและเอทานอลของใบมะรุม สารสกัดเอทานอลของผลและฝัก สารในกลุ่ม Glycosides ในสารสกัดเมทานอลของฝักแห้งและเมล็ด แสดงฤทธิ์ลดความดันโลหิตในสุนัขและหนูแรท
- ฤทธิ์ต้านการเกิดเนื้องอกและฤทธิ์ต้านมะเร็ง
สาระสำคัญในกลุ่ม Thiocarbamate จากใบ สารสกัดเอทานอลของเมล็ดแสดงฤทธิ์ทั้งยับยั้งการเจริญเติบโต และทำลายเซลล์มะเร็ง เมื่อป้อนสารสกัดของผลและฝักขนาด 5 มก./กก. น้ำหนักตัว มีผลลดจำนวนหนูเม้าส์ที่เป็นมะเร็งผิวหนังได้
- ฤทธิ์ลดระดับโคเลสเตอรอล
สารสกัดน้ำของส่วนใบ มีผลลดระดับโคเลสเตอรอลและลดการเกิด Plaque ในหลอดเลือดของหนูแรทและกระต่ายซึ่งได้รับอาหารชนิดที่มีไขมันสูง การทดสอบโดยให้กระต่ายที่มีระดับโคเลสเตอรอลสูงและกระต่ายปกติ โดยให้กินผลมะรุมขนาด 200 มก./กก. น้ำหนักตัวต่อวัน นาน 120 วัน เปรียบเทียบกับยาลดไขมันโลวาสแตทิน 6 มก./กก. น้ำหนักตัวต่อวัน และให้อาหารไขมันมาก พบว่ามีผลลดระดับโคเลสเตอรอล, Phospholipids, Triglycerides, Low density lipoprotein (LDL), Very low density lipoprotein (VLDL), อัตราส่วนระหว่างโคเลสเตอรอลและ phospholipids และ atherogenic index ในกระต่ายกลุ่มแรกได้
- ฤทธิ์ต้านการเกิดแผลในกระเพาะอาหาร
สารสกัดเมทานอลของใบ และสารสกัดเมทานอลจากส่วนดอก สามารถยับยั้งการเกิดแผลในกระเพาะอาหารของหนุแรท ซึ่งถูกเหนี่ยวนำโดยแอสไพรินได้ ในขณะที่สารสกัดน้ำจากใบมีผลป้องกันการเกิดแผลในกระเพาะอาหารด้วย
- ฤทธิ์ป้องกันตับอักเสบ
สารสกัด 80 % เอทานอลจากใบ สารสกัดน้ำและสารสกัดเอทานอลจากดอก มีฤทธิ์ป้องกันการทำลายเซลล์ตับหนูแรทที่ได้รับ Acetaminophen (ยาพาราเซตามอล) และสารสกัดน้ำจากส่วนราก แสดงฤทธิ์ป้องกันการทำลายเซลล์ตับหนูแรทจากการเหนี่ยวนำโดยยาไรแฟมพิซิน
- ฤทธิ์ต้านออกซิเดชัน
สารสกัดน้ำ สารสกัด 80 % เมทานอล และสารสกัด 70 % เอทานอลจากส่วนใบผลแห้งบดหยาบและสารสกัดน้ำจากเมล็ด และสารในกลุ่ม Phenol จากส่วนรากสามารถต้านและกำจัดอนุมูลอิสระได้
- ฤทธิ์ต้านเชื้อแบคทีเรีย
น้ำคั้นสดของใบ สารประกอบคล้าย Pterygospermin ของดอก สารสกัดอะซีโตนและสารสกัดเอทานอลจากเมล็ด สารสกัดน้ำจากเมล็ด น้ำคั้นจากเปลือกต้น สารสกัดเอทานอลของเปลือกราก และสาร athomin จากเปลือกราก มีฤทธิ์ยับยั้งการเจริญเติบโตของเชื้อแบคทีเรียได้หลายชนิด นอกจากนี้ยังมีการใช้สารสกัดน้ำมันจากเมล็ด ซึ่งมีฤทธิ์ยับยั้งการเจริญเติบโตของเชื้อแบคทีเรีย เป็นผลิตภัณฑ์สำหรับใช้กับตา โดยพบว่าใช้ได้ดีกับ Pyodermia ในหนูเม้าส์ ที่มีสาเหตุมาจาก Staphylo – coccus aureus
- ฤทธิ์ลดระดับน้ำตาล
ผงใบแห้ง สารสกัด 95% เอทานอล และเถ้าจากเปลือกต้น มีผลลดระดับน้ำตาลในเลือดของหนูแรทปกติ และหูที่เป็นเบาหวาน ส่วนสารสกัดเมทานอลจากเปลือกรากแสดงฤทธิ์ลดระดับน้ำตาลในหนูเม้าส์
- ฤทธิ์ต้านการอักเสบ
ชาชงน้ำร้อน และสารสกัดเมทานอลจากราก มีฤทธิ์ยับยั้งอาการบวมที่อุ้งเท้าหลังของหนูแรทและหนูเม้าส์ ที่ถูกเหนี่ยวนำด้วยคาราจีแนน ในขณะที่เมล็ดแก่สีเขียว สารสกัดเอทานอลจากเมล็ดแห้ง และสารสกัดเอทานอลจากเมล็ดมีผลลดการอักเสบของทางเดินหายใจในหนูตะเภา ซึ่งยืนยันถึงการใช้มะรุมในทางพื้นบ้าน เพื่อบำบัดอาการผิดปกติจากภูมิแพ้ เช่น หอบหืด สารสกัดเอทานอลจากเมล็ด สามารถลดการบวมของอุ้งเท้าบริเวณข้อของหนูแรท และพบว่าสารสกัดมะรุมมีผลลด Oxidative Stress ในส่วนที่เกี่ยวข้องกับฤทธิ์ต้านการอักเสบด้วย
นอกจากฤทธิ์ดังกล่าวข้างต้น มีงานวิจัยจากต่างประเทศหลายงานวิจัยรองรับว่ามะรุมมีสารอาหารต่างๆ มากมาย เช่น เป็นแหล่งของโปรตีน มีวิตามิน เบต้าแคโรทีน กรดอะมิโน อีกทั้งยังเป็นแหล่ง ของแคลเซียม เหล็ก และสังกะสี นอกจากนี้แล้ว ยังพบว่ามะรุมมีสาร Polyphenol ซึ่งมีคุณสมบัติในการต้านอนุมูลอิสระด้วย
สำหรับความเป็นพิษของใบมะรุมนั้น มีการรายงานความเป็นพิษเฉียบพลัน (Acute Toxicity) ของมะรุมในระดับสัตว์ทดลองว่า ผงใบมะรุมขนาด 5 กรัมต่อน้ำหนักตัว 1 กิโลกรัม ไม่ทำให้เกิดพิษเฉียบพลัน หรืออาจจะเปรียบเทียบได้ว่า น้ำหนักตัวที่ 50 กิโลกรัม การได้รับผงใบมะรุมขนาด 25 กรัม ไม่ทำให้เกิดพิษเฉียบพลัน
- ข้อแนะนำในการรับประทาน
แม้ว่าจะเป็นที่นิยมรับประทานกันมาเป็นเวลานาน หรือเป็นอาหารสุขภาพที่นิยมรับประทานกันในคนไทยมาร่วมปีแล้ว แต่เนื่องจากมะรุมยังไม่มีงานวิจัยความเป็นพิษระยะยาวในสัตว์ทดลอง คำแนะนำคือ ควรมีระยะเวลาพักในการรับประทานบ้าง คือ อาจจะไม่รับประทานต่อเนื่องทุกวัน ควรมีระยะพักต่อเดือนประมาณ 5-7 วัน
- ข้อห้ามสำหรับผู้ที่จะรับประทานมะรุม
- เด็ก และสตรีมีครรภ์ เป็นข้อห้ามสำหรับสมุนไพรทุกชนิดอยู่แล้ว
- ผู้ป่วยโรคเลือด จีซิกพีดี (G6PD) (โรคเลือดอื่นๆ ไม่ได้ห้าม) โรคนี้จะห้ามรับประทานถั่วปากอ้า ซึ่งในมะรุมมีสารบางชนิดคล้ายในถั่วปากอ้าจึงควรห้ามรับประทานไปด้วย
- สตรีที่อาจจะตั้งครรภ์ หรือมีศักยภาพที่จะตั้งครรภ์ เช่น อยู่ในวัยและไม่ได้รับประทานยาคุมกำเนิด เป็นต้น เพราะมีงานวิจัยว่า ในปริมาณที่สูงทำให้เกิดการแท้งในหนูทดลองได้
- ผู้ป่วยโรค ตับ ตับอักเสบ หรือตับแข็ง เป็นข้อห้ามสำหรับสมุนไพรทุกชนิดอยู่แล้ว
- ผู้ที่รับประทานยาต้านไวรัสเอชไอวี เพราะอาจจะมีผลรบกวนระดับยาได้
ข้อมูลดังกล่าวข้างต้นจะเป็นประโยชน์ต่อผู้บริโภค และเป็นแนวทางที่จะช่วยในการตัดสินใจใช้ผลิตภัณฑ์มะรุมต่างๆ เพื่อดูแลสุขภาพ ป้องกันหรือรักษาโรค ไม่ว่าจะอยู่ในรูปแบบพืชสด แห้ง เป็นแคปซูล หรือ เป็นสารสกัด
ราคากล่องละ 250 บาท (60 แคปซูล)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น